วิจารณ์วรรณคดีบทละครนอกเรื่อง คาวี
วิจารณ์วรรณคดีบทละครนอกเรื่อง
คาวี
บทละครนอกเรื่อง คาวี ที่พระราชนิพนธ์ขึ้นใน
พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย มีอยู่ ๔ ตอน คือ ตอนที่ ๑
ท้าวสันทุราชหานางผมหอม ตอนที่๒ ท้าวสันนุราชชุบตัว ตอนที่๓ นางคันธมาลีขึ้นเฝ้า
และตอนที่๔ พระคาวีรบกับไวยทัต ซึ่งทั้ง๔ตอนจัดว่าเป็นตอนปลายๆ ของเรื่องคาวี
หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่าเรื่องเสือโค เรื่องคาวี เป็นนิทานพื้นบ้านโบราณ
ที่มีต้นเรื่องปรากฏอยู่ในปัญญาสชาดกซึ่งเชื่อว่า ภิกษุเชียงใหม่รวบรวมและเรียบเรียงขึ้น
จากการศึกษาบทละครนอกเรื่อง คาวี
ทำให้เห็นว่าเรื่องราวในเรื่องส่วนใหญ่นั้นเป็นเรื่องราวที่เกี่ยวกับคุณธรรมเป็นหลักของเรื่องคาวี
คือ ความเป็น “กัลยาณมิตรและสัจวาจา” และเรื่องของคาวียังสะท้อนให้เห็นถึงความรักความเมตตาและความซื่อตรงต่อกันระหว่างมิตร
ถึงแม้ว่าจะมีความแตกต่างกันก็ตามเช่น ลูกเสือกับลูกโค
ถึงแม้จะต่างสายพันธ์แต่ก็สามารถเป็นเพื่อนกันได้
ซึ่งต่างฝ่ายต่างช่วยเหลือกันในยามที่ต้องตกอยู่ในความลำบาก
และเรื่องคาวียังแสดงให้เห็นถึงความมีเมตตาของลูกโคที่มีต่อลูกเสือที่กำลังอดโซและขอร้องให้แม่โคแบ่งนมให้ลูกเสือกินด้วย
จึงส่งผลให้ลูกโคและลูกเสือกลายเป็นเพื่อนของลูกโค
และความไม่เที่ยงแท้ยืนยงของชีวิตของแม่โคและแม่เสือ
ในส่วนของการบรรยายในเรื่องของคาวี
จะบรรยายเป็นฉากเป็นตอนมีด้วยกันทั้งหมด๔ตอนด้วยกันโดยจะเริ่มบรรยายว่าฉากนั้นตอนนั้นมีลักษณะเป็นอย่างไรและมีใครอยู่ในเหตุการณ์นั้นบ้าง
และแต่ละเหตุการณ์มีความสำคัญอย่างไร ตัวอย่างเช่น
มาจะกล่าวบทไป ถึงท้าวสันนุราชจอมกระษัตริย์
เสวยราชย์ธานีบุรีรัตน์
กรุงพัทธวิสัยสวรรยา
ท้าวมีอัคเรศมเหสี
ชื่อคันธมาลีเสนหา
อยู่ด้วยกันแต่หนุ่มคุ้มชรา ชันษาหกสิบสี่ปีปลาย
น่าพระทนต์บนล่างห่างหัก
ดวงพระภักตร์เหี่ยวเห็นเส้นสาย
เกศาพึ่งจะประปะราย
รูปกายชายจะพีมีเนื้อ
พระเสวยมื้อละชามสามเวลา
ทรงกำลังวังชาประหลาดเหลือ
พอใจเกี้ยวผู้หญิงริงเรือ ผูกพันฟั่นเฝือไม่เบื่อใจ
ราวกับหนุ่มคลุ้มคลั่งนั่งบ่น
จะหางามเล่นสักคนหนึ่งให้ได้
รำพึงคะนึงคิดเป็นนิจไป มิได้ว่างเว้นสักเวลา
เมื่อจะมีเหตุเภทภัย
ให้เร่าร้อนฤทัยเป็นนักหนา
จึงชวนกำนัลกัลยา ลงมายังที่ตำหนักแพ
(พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย,2540:31)
ท้าวเสด็จนั่งเหนือเรือบัลลังก์ สาวสนมกรมวังเซ็งแซ่
พระเอนอิงพิงพนักผันแปร เหลียวแลเห็นผอบลอยมา
หยิบขึ้นเขม้นอยู่เป็นครู่ เปิดดูก็เห็นเส้นเกศา
หอมกลิ่นรวยรื่นชื่นวิญญาณ์ พระนิ่งนึกตรึกตราในอารมณ์
ผมนี้ดีร้ายนางสาวน้อย แกล้งลอยหาคู่สู่สม
ชะรอยบุญเราเคยได้เชยชม จึงพบผอบผมกัลยา
ฉุนคิดเคลิ้มคลั่งขึ้นทั้งแก่ กระสันเสียวเหลียวแลชำเลืองหา
เห็นนางพนักงานคลานเข้ามา ยิ้มแย้มพยักหน้าว่านงลักษณ์
ค่อยขยดลดองค์ลงนั่งใกล้ เห็นมิใช่ผุดลุกขึ้นกุกกัก
ดูนางห้ามแหนยิ่งแค้นนัก ให้ละล่ำละลักลืมองค์
ท้าวกอดผอบทองประคองไว้ มิได้ชำระสระสรง
ขึ้นจากเรือสุวรรณบรรจง เสด็จตรงมายังวังใน
(พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย,
2540:32)
จากตัวอย่างที่ยกมาจากข้างบนนั้น จะเป็นตอนของท้าวสันนุราชกษัตริย์แห่งเมืองธานีบุรีรัตน์
กรุงพัทธจัก ที่มีภรรยาชื่อนางคันธมาลีอยู่ด้วยกันมานานจนอายุถึงหกสิบสี่ และยังบรรยายไปต่อว่าได้เสด็จไปนั่งเรือกับนางกำนัลและได้เหลือบมองไปเห็นผอบที่ลอยมาตามน้ำ
พอเปิดดูแล้วก็เห็นเส้นผมที่ส่งกลิ่นหอมที่ติดอยู่ในใจ ที่เป็นผมของผู้หญิงแกล้งลอยหาคู่ที่ลอยมาตามน้ำจึงทำให้ตัวเองพบกับผอบอันนี้
จึงกอดผอบเอาไว้แล้วขึ้นจากเรือเสด็จเข้าไปในวัง
จะเห็นได้ว่าเป็นการบรรยายจะเป็นฉากเป็นตอนบอกว่าฉากที่อยู่ที่ไหนอยู่กับใครและทำอะไรบ้างส่วนภาษาหรือคำที่ใช้ก็ใช้ภาษาที่เข้าใจง่ายและมีความไพเราะในตัวเอง
ในส่วนของในเรื่องคาวีจะมีตอนที่คาวีได้เสียชีวิตทำให้หลวิชัยเดือดเนื้อร้อนใจเป็นอย่างมาก
แสดงให้เห็นถึงความรักและมิตรภาพของทั้งสอง ตัวอย่างเช่น
มาจะกล่าวบทไป ถึงพระหลวิไชยเชษฐา
เมื่อพระคาวีสิ้นชีวา ในอุราร้อนรุมดังสุมไฟ
จึงดูดอกประทุมที่เสี่ยงทาย ก็กลับกลายมัวหมองไม่ผ่องใส
พระเร่งตระหนกตกใจ เหตุไฉนฉะนี้เจ้าพี่อา
ทุกข์ร้อนอย่างไรก็ไม่รู้ จำกูจะไปเที่ยวตามหา
แม้นมิพบน้องแก้วแววตา พี่ยาไม่กลับเข้ากรุงไกร
คิดพลางทางสั่งมเหสี สร้อยสุดานารีศรีใส
พี่ขอลาโฉมงามทรามวัย รีบไปตามหาพระคาวี
แม้นพระบิดาบัญชาถาม จึงทูลความให้ทราบบทศรี
สั่งพลางทางเสด็จจรลี
มาเข้าที่สระสรงคงคา
ทรงเครื่องประดับการพรายพรรณ จับพระขรรค์เยื้องย่างออกข้างน่า
ยกพระหัตถ์มัสการเทวา ทุกเหวผาท่าทางกลางดง
แม้นน้องของข้าอยู่แห่งใด ช่วยนำไปให้พบสบประสงค์
แล้วรีบออกนอกวังดังจำนง เสด็จตรงมาตามมรคา
(พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย,
2540:75)
จากตัวอย่างที่ยกมาจากข้างบนคือตอนที่หลวิชัยรู้ว่าน้องของตัวเองหรือคาวีเสียชีวิตแล้วทำให้เดือดเนื้อร้อนใจเป็นอย่างมากจึงใช้ดอกประทุมเสี่ยงทายปรากฏว่ามัวหมองไม่สดใส
จึงทำให้ตกใจเป็นอย่างมากจึงทำให้ตัดสินใจไปตามหาคาวีถ้าหาตัวน้องไม่เจอก็จะไม่กลับเข้าเมือง
จึงหันไปมองมเหสีสร้อยสุดาว่าพี่ขอลาจะรีบไปตามหาพระคาวี แม้ว่าพระบิดาจะถาม
จึงรีบบอกให้ทราบ แล้วรีบมาสระสรงแต่งเครื่องประดับร่างกาย
แม้ว่าน้องจะอยู่ที่ไหนก็ขอช่วยให้ไปตามหาน้องเจอ แล้วรีบออกนอกวัง
จะเห็นได้ถึงความรักของสองพี่น้องถึงแม้ว่าจะต่างสายพันธุ์กัน
แต่ก็ยังมีความรักและความเชื่อใจให้กันเสมอ และช่วยเหลือซึ่งกันและกัน
เวลาอีกฝ่ายตกอยู่ในความยากลำบากและจะไม่ทอดทิ้งอีกฝ่าย และการบรรยายในบทนี้ก็จะบรรยายเป็นร้องกรอง
ที่บรรยายไปฉากเป็นตอนไปตามลำดับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในเรื่องนี้
ภาษาหรือคำที่ใช้ในการเป็นบรรยายเป็นภาษาที่เข้าใจง่าย มีความไพเราะ
สรุปบทละครนอกเรื่อง คาวี ที่พระราชนิพนธ์ขึ้นใน
พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ที่หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่าเรื่องเสือโค
เรื่องคาวี เป็นนิทานพื้นบ้านโบราณ
ที่มีต้นเรื่องปรากฏอยู่ในปัญญาสชาดกซึ่งเชื่อว่า
ภิกษุเชียงใหม่รวบรวมและเรียบเรียงขึ้น
จากการที่ได้ศึกษามาในเรื่องของคาวีจะทำให้เห็นว่าเป็นกลอนที่อ่านง่ายการใช้ภาษาหรือคำในเรื่องนี้ก็ใช้ภาษาที่เข้าใจง่ายอ่านแล้วสามารถทำความเข้าใจได้
ส่วนเนื้อเรื่องส่วนใหญ่ก็จะเกี่ยวข้องกับหลักคุณธรรมสะส่วนใหญ่
และมีเรื่องมิตรภาพของลูกโคและลูกเสือ ซึ่งต่างฝ่ายต่างช่วยเหลือกันในยามที่ต้องตกอยู่ในความลำบาก
และก็จะมีการเดินทางด้วยทำให้ไม่น่าเบื่อ เพราะเนื้อเรื่องมีความหลากหลายอยู่ในตัว
ปัจจุบันเรื่อง
คาวี ก็ถูกนำเสนอหลายวิธี มีทั้งบทละครนอก
ทั้งนำเสนอแบบละครพื้นบ้านจักรๆวงศ์ๆหรือถูกนำเสนอเป็นแบบการ์ตูน
อาจจะมีการปรับเปลี่ยนบ้างบางบทเพื่อให้เข้ากับแต่ละยุคแต่ละสมัย
แต่อย่างไรก็ตามบทละครนอกเรื่องคาวี ก็ยังถือว่าเป็นวรรณคดีที่น่าสนใจ
เพราะได้ทั้งข้อคิดต่างๆมากมาย โดยเฉพาะเรื่องคุณธรรม เรื่องความรักและเรื่องมิตรภาพ
ที่จะได้เห็นจากเรื่องของคาวี
_______________________________________________________________________
อ้างอิง
สถาบันภาษาไทย
กรมวิชาการ.๒๕๔๐.บทละครนอกเรื่องคาวีพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย.กรุงเทพฯ:คุรุสภาลาดพร้าว.
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น